กัปตันสูบบุหรี่บนเครื่องบิน

อัพเดทใหม่ล่าสุดเมื่อ 29 มีนาคม 2023

บุหรี่ไฟฟ้า หรือ พอต ที่มีชื่อเรียกทางวิศวกรรมว่า ระบบนำส่งนิโคตินอิเล็กทรอนิกส์ (electronic nicotine delivery systems) เป็นอุปกรณ์ที่ทำให้เกิดภาวะที่ควบแน่นสารละลายของเหลวคือน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า จนกลายเป็ควันบุหรี่ ซึ่งน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าที่ระเหยนี้ประกอบด้วย นิโคติน โพรพิลีนไกลคอล และหรือ กลีเซอรีนจากพืช เพื่อส่งสารเคมีดังกล่าวไปยังผู้ใช้ผ่านการหายใจเข้า ออก เมื่อเปิดใช้งานระบบเครื่องบุหรี่ไฟฟ้าและพอต ซึ่งใช้หลักการเช่นเดียวกัน

โดยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การใช้บุหรี่ไฟฟ้า ประเภท พอต กลายเป็นที่นิยมมากขึ้นในฐานะทางเลือกในการสูบบุหรี่และเป็นเครื่องมือในการเลิกบุหรี่ ด้วยความนิยมที่เพิ่มขึ้นของบุหรี่ไฟฟ้า  ทำให้นักสูบหลายคนมีคำถามว่า สามารถนำบุหรี่ไฟฟ้าขึ้นเครื่องบินได้หรือไม่ จะโดนจับหรือเปล่า และจะนำพอตขึ้นเครื่องบินได้ไหมอย่างไร

การใช้บุหรี่ไฟฟ้าหรือที่เรียกว่า พอต (POD) บนเครื่องบินอาจทำให้นักเดินทางหลายคนสับสนได้ นี่คือคำแนะนำที่จะช่วยให้คุณเข้าใจกฎและข้อบังคับเกี่ยวกับการใช้บุหรี่ไฟฟ้าบนเครื่องบิน!

บุหรี่ไฟฟ้า ขึ้นเครื่องบินได้ไหม 

สำหรับประเทศไทย สามารถพกพาบุหรี่ไฟฟ้าขึ้นเครื่องบินได้ สำหรับสายการบินทั้งในประเทศและเที่ยวบินออกนอกประเทศ เนื่องจากมาตรการทางกฎหมายไม่ได้ให้อำนาจ สนามบิน ในการจับกุมผู้นำสินค้าหนีภาษีออกนอกราชอาญาจักรไทย มีเพียงอำนาจที่ กรมศุลกากรสามารถยึดและจับกุมผู้นำเข้าสินค้าห้ามนำเข้า(บุหรี่ไฟฟ้า) ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์เท่านั้น ดังนั้น การนำออกนอกประเทศ ไม่ใช่เรื่องผิดกฎหมาย และสามารถทำได้ หากแต่นำเข้าผิดกฎหมายและสุ่มเสี่ยงมีโทษแน่นอนครับ

สูบบุหรี่ไฟฟ้าบนเครื่องบิน

ประการแรก สิ่งสำคัญคือต้องทราบว่าห้ามสูบบุหรี่ พอต รวมถึงการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในเที่ยวบินพาณิชย์ทั้งหมด ซึ่งหมายความว่าคุณไม่สามารถใช้บุหรี่ไฟฟ้าระหว่างเที่ยวบินได้ ไม่ว่าจะอยู่ในห้องโดยสารหรือในห้องน้ำก็ตาม

พกบุหรี่ไฟฟ้าขึ้นเครื่องบิน 

ในส่วนของการพกพาบุหรี่ไฟฟ้าขึ้นเครื่องบินนั้น สำนักงานรักษาความปลอดภัยด้านการขนส่งนานาชาติได้อนุญาตให้นำบุหรี่ไฟฟ้าใส่กระเป๋าถือขึ้นเครื่องได้ แต่ต้องใส่ถุงพลาสติกใสเพื่อง่ายต่อการตรวจสอบ แต่ห้ามชาร์จบุหรี่ไฟฟ้าในห้องโดยสาร ดังนั้นผู้โดยสารควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าอุปกรณ์ของตนชาร์จเต็มแล้วก่อนขึ้นเครื่อง

โหลดบุหรี่ไฟฟ้าใต้ท้องเครื่องบิน

ในแง่ของสัมภาระที่บรรจุใต้ท้องเครื่อง อนุญาตให้โหลดผ่านตู้สัมภาระใต้เครื่องบินได้เช่นเดียวกันกับพกบุหรี่ไฟฟ้าใส่กระเป๋าถือขึ้นเครื่องได้ แต่สิ่งสำคัญคือต้องตรวจสอบกับสายการบินเฉพาะสำหรับนโยบายหลักเกณฑ์ ของสายการบินนั้นๆ สายการบินบางแห่งอาจมีข้อจำกัดเกี่ยวกับประเภทของแบตเตอรี่ที่อนุญาตให้บรรจุในสัมภาระใต้ท้องเครื่อง

นโยบายสายการบินไทย กับ บุหรี่ไฟฟ้า

สายการบิน ไทยแอร์เอเชีย

สามารถพกพาบุหรี่ไฟฟ้าไปกับสัมภาระขึ้นห้องโดยสารได้ แต่สายการบินแอร์เอเชียและแอร์เอเชีย เอ็กซ์ ไม่อนุญาตให้ผู้โดยสารสูบบุหรี่ทุกประเภทรวมทั้งบุหรี่ไฟฟ้าในทุกเที่ยวบินและ ไม่อนุญาตให้นำบุหรี่ไฟฟ้า (e-cigarettes) ไว้ในสัมภาระใต้ท้องเครื่อง

อ้างอิงสายการบินแอร์เอเชีย (AIRASIA)

สายการบิน บางกอกแอร์เวย์

ผู้โดยสารสามารถนำบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ขึ้นเครื่องได้ แต่ทางสายการบินไม่อนุญาติให้สูบบุหรี่ทุกชนิดบนเครื่องบิน

อ้างอิงสายการบินบางกอกแอร์เวย์ (BANGKOK AIR)

สายการบิน นกแอร์

สามารถนำขึ้นเครื่องได้ค่ะ แต่ไฟแช็ค ห้ามนะค่ะ แล้วพบกันค่ะ

อ้างอิงสายการบินนกแอร์ (NOK AIR)

สายการบิน ไลอ้อนแอร์

สามารถพกพาขึ้นเครื่องได้ ไม่มีนโยบายข้อห้าม หากแต่ไม่อนุญาตให้ผู้โดยสารสูบบุหรี่รวมทั้งบุหรี่ไฟฟ้าบนเครื่อง 

อ้างอิงสายการบินไทยไลอ้อนแอร์ (LIONAIR)

สายการบิน การบินไทย

สามารถพกพาบุหรี่ไฟฟ้าขึ้นเครื่องได้ ไม่มีนโยบายข้อห้ามในรายการของที่ห้ามถือเป็นสัมภาระขึ้นเครื่อง

อ้างอิงสายการบินไทย (THAIAIRWAYS)

สายการบิน ไทยเวียดเจ็ทแอร์

สามารถพกพาบุหรี่ไฟฟ้าขึ้นเครื่องได้ ไม่มีนโยบายข้อห้ามแต่ ห้ามสูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าทั้งในห้องโดยสารและในห้องน้ำค่ะใส่ใจสุขภาพของคุณและคนรอบข้าง

อ้างอิงสายการบินเวียดเจ็ท (VIETJET)

ดังนั้น จึงควรตรวจสอบล่วงหน้าเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาใดๆ ที่สนามบิน นอกจากนี้ สิ่งสำคัญคือต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์บรรจุในลักษณะที่ป้องกันการเปิดใช้งานโดยไม่ได้ตั้งใจ และแบตเตอรี่ได้รับการปกป้องเพื่อหลีกเลี่ยงการลัดวงจร

สรุป

โดยสรุป สามารถพกขึ้นเครื่องบินสายการบินพาณิชย์ประเทศไทยได้ แต่ไม่อนุญาตให้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าบนเครื่องบิน อย่างไรก็ตาม คุณได้รับอนุญาตให้พกพาบุหรี่ไฟฟ้าในกระเป๋าถือขึ้นเครื่องและสัมภาระโหลดใต้ท้องเครื่องได้ แต่ต้องปฏิบัติตามกฎและข้อบังคับของสายการบินที่คุณเข้ารับริการอย่างเคร่งครัด และห้ามสูบบุหรี่ในห้องโดยสารเด็ดขาด

คะแนนเฉลี่ยของบทความ : 5/5

Rating: 5 out of 5.
#TAG
บทความที่เกี่ยวข้อง